ตม (ภัทราวดี / อ้น / อู๋ / จอย รินลณี )
รหัสสินค้า : RT3-1222-D
V2D 3 แผ่น
พากษ์ไทย
เนื้อเรื่องย่อ
“คุณใหญ่” เป็นคนที่มีฐานะปานกลางมีสามีแล้วและช่วยกันก่อร่างสร้างตัวทำธุรกิจแต่พอกิจการเริ่มดีขึ้นสามีก็ริมีเมียน้อยจนทำให้ครอบครัวแตกแยก คุณใหญ่ซึ่งมีลูกสามคนก็เลยหอบ”เบิ้ม”ลูกคนเล็กไปอยู่บ้านเดิมที่ราชบุรีค้าขายผลิตพันธุ์จากพืชไร่และทำสวนอาหาร โดยไม่มีเวลาดูแลลูก ก็เลยให้ยายชะม้อยหรือยายม้อยดูแลแต่ยายม้อยแกไม่มีความรับผิดชอบติดเหล้าและชอบนินทาผู้อื่นจึงทำให้เบิ้มเห็นนิสัยไม่ดีของยายม้อยเป็นเรื่องธรรมดาเบิ้มจึงกลายเป็นคนก้าวร้าวโดยปริยาย ชอบเอาแต่ใจตนเองชอบเอาชนะทุกเรื่องและการที่ฟังยายม้อยนินทาคนอยู่บ่อย เพราะการนินทาก็คือการว่าร้ายผู้อื่น จึงทำให้เบิ้มมองโลกในแง่ร้ายทำให้เขารู้สึกต่ำต้อยกว่าพี่ๆ ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง คุณใหญ่มีลูกสามคน คนโตชื่อ “พิจักษ์”หรือ “ป้อม”เกิดมาในขณะที่พ่อแม่อยู่ในภาวะของการก่อร่างสร้างตัวไม่ค่อยมีเงินจึงเป็นคนติดดินมีความรับผิดชอบ ตอนที่คุณใหญ่เลิกกับสามีป้อมก็ถูกส่งไปเรียนต่อเมืองนอก เขาต้องช่วยตัวเองหารายได้พิเศษระหว่างเรียน การอยู่โรงเรียนประจำทำให้เป็นคนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ แต่เขาก็ไม่อยากมีครอบครัวเพราะกลัวการสูญเสียเหมือนกับพ่อของตัวเองคนที่สองชื่อ “พิพัฒน์” ซึ่งเป็นลูกคนกลาง ภาษาปะกิดเขาเรียกว่าWednesday child หรือเด็กวันพุธ ทฤษฎีเขาว่าถ้าดีก็ดีใจหาย ถ้าร้ายก็ร้ายเหลือพิพัฒน์เกิดมาในขณะที่พ่อแม่มีฐานะดีแล้วแต่อยู่ในช่วงที่พ่อแม่กำลังขัดแย้งกันทำให้เขาต้องซึมซับอารมณ์ที่ไม่ดีของพ่อและแม่ไว้กลายเป็นคนเก็บกด ขรึม คิดมาก น้อยใจแม่ที่ทิ้งเขาไป เขาถูกเลี้ยงดูอย่างดีโดยพี่เลี้ยงที่ถูกจ้างมาด้วยราคาแพงเอาอกเอาใจโดยเฉพาะเวลาเกิดความสงสารที่พิพัฒน์ถูกคุณพ่อดุเขาเป็นคนสำอางค์ ใช้ของราคาแพงเพราะจะทำให้เขาเกิดความมั่นใจ แต่เขาก็เครียดกับความที่เขาจะต้องเก่งและมีความรู้สึกว่าชีวิตจะดีหากเขาเป็นคนรวย ส่วนคนเล็กก็คือเบิ้มที่ผมเล่าไว้ข้างต้น ในสามคนนี้ มีเพียงพิพัฒน์ที่มีครอบครัวมีภรรยาชื่อ“เจนนี่”มีลูกคนหนึ่งชื่อ”มิ๊ก” แต่มิ๊กเองก็ถูกทิ้งอยู่กับพี่เลี้ยงเพราะพ่อแม่ต่างห่วงแต่ตนเอง จนทำให้มิ๊กมีปัญหาเป็นเด็กก้าวร้าวเอาแต่ใจตนเอง คุณใหญ่เริ่มมองเห็นปัญหาที่กำลังคืบคลานเข้ามาในชีวิตเห็นประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยจึงต้องเข้าไปพยุงครอบครัวของพิพัฒน์สอนเจนนี่ให้รู้จักหน้าที่ของความเป็นแม่เป็นภรรยาที่ดี ให้คิดดี คิดเป็น แล้วคุณใหญ่ก็ต้องจำนองบ้านสมบัติชิ้นสุดท้ายเพื่อช่วยพิสูจน์ความสามารถของพิพัฒน์ในเชิงธุรกิจด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่นว่าพิพัฒน์ทำได้ตามหน้าที่ของแม่และในที่สุดความพยายามของเธอก็ประสบความสำเร็จเมื่อพิพัฒน์หันกลับมาทบทวนบทบาทตัวเองเริ่มหัดฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจนประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจด้วยการช่วยเหลือของสายลับของคุณป้อมที่ส่งเลขาฯปลอมตัวมาร่วมลงทุนกับพิพัฒน์ ในขณะที่คุณใหญ่กำลังวุ่นวายอยู่กับพิพัฒน์ เบิ้มก็ติดยาเสพติดคิดว่าแม่ไม่รักเอาแต่ใจตนเองคิดจะทำอะไรก็ทำโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร คิดแต่ตนเองต้องการอย่างไร แต่คุณใหญ่ก็อดทน เอาความรักความเข้าใจให้โอกาสประคับประคองจนเบิ้มหายจากการเสพยาผ่านการบำบัดสำเร็จ แต่แม้ว่าผ่านการบำบัดมาครั้งหนึ่งแล้วยังกลับไปเสพยาอีกจนในที่สุดเมื่อเบิ้มไปเห็นเพื่อนที่อยากกลับตัวกลับใจแต่กลับกลายเป็นคนสมองเสื่อมเพราะติดยาเสพติด เขาจึงเลิกยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาด คนเราเวลามีปัญหามันก็เกิดปัญหารุมเร้าเข้ามาในคราวเดียวกัน คุณป้อมที่ต้องตรากตรำทำงานด้วยความขยันขันแข็งแต่ก็ชอบดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ไม่ค่อยมีเวลาดูแลสุขภาพของตัวเอง ปรากฏว่ามีอาการปวดท้องบ่อยๆในที่สุดก็รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้เมื่อคุณใหญ่รู้เข้าก็บอกลูกไม่ให้เป็นทุกข์กับความตาย แต่ให้ใช้ทุกลมหายใจที่ตนเองมีให้เป็นประโยชน์ สร้างความสุขให้ตนเองและผู้อื่นผมเขียนบทความนี้ในขณะที่ละครยังไม่จบแต่ซื้อหนังสือมาอ่านก่อนก็เลยมีเวลาวิเคราะห์ แต่ละครเรื่องนี้ได้นำเอาเรื่องดีๆมีใส่ไว้เยอะมีทั้งเรื่องคุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติตนให้มีความสุข ความสงบ การอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวละครในเรื่องก็ยังมี “เมี่ยง”อีกคนที่เป็นลูกน้องของคุณใหญ่ แม้เมี่ยงจะเป็นลูกน้องเป็นชาวบ้านจนๆเป็นเด็กวัด แต่เมี่ยงก็เป็นตัวแทนของความดีงาม เป็นตัวอย่างของความรับผิดชอบในหน้าที่เป็นตัวอย่างของคนดีที่ควรจะเป็นคือมีสติและคิดเป็น เหมือนละครจะบอกว่า เมี่ยงเป็นตัวแทนของลูกที่คุณใหญ่อยากให้เป็น ไม่รู้นะผมก็มองของผมอย่างนี้แหละ ผมไม่ใช่นักวิจารณ์ละคร แต่ผมเขียนตามความรู้สึกของคนดูละคร ซึ่งผมศรัทธาละครที่มีคุณค่าที่ช่องสามนำเสนอ อยู่บ่อยๆ ผมว่าละครเรื่องนี้ทำให้ผู้ปกครองได้ข้อคิดจากการเลี้ยงลูกให้ถูกวิธีและบางครั้งเหมือนกับจะบอกว่า การแก้ปัญหาเรื่องลูก คนที่เป็นพ่อแม่ต้องอดทนอดกลั้นอย่างมากมายมหาศาล พ่อแม่ต้องให้โอกาสลูกและใช่เพียงแค่ครั้งเดียวหรือสองครั้งแต่ต้องให้โอกาสลูกแทบจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่ต้องพูดคุยกับเขาด้วยเหตุด้วยผลแต่จะง่ายกว่าการแก้ไขคือการป้องกันชื่อเรื่อง “ตม” มันมีความหมาย เพราะ “ตม”เป็นแหล่งกำเนิดของอาหารของพืชและสัตว์“ตม”เองไม่น่าดู กลิ่นก็ตุๆ แต่ “ตม”มีคุณค่ามีประโยชน์สำหรับผู้อื่น เป็นที่พึ่งพาอาศัยของของพืชพันธุ์และสัตว์น้ำ หากเปรียบ “ตม”กับคนเป็นแม่ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งปวงของสัตว์โลกที่ชื่อว่า”มนุษย์”และหากมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่า “แม่”ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นแม่ ไม่ใช่มีความใคร่แล้วไปสมสู่กับมนุษย์ตัวผู้จนท้องและคลอดออกมาโดยไม่ใส่ใจรับผิดชอบทั้งตัวผู้ตัวเมีย ปัญหาสังคมก็น่าจะดีขึ้น ผมว่าความลึกซึ้งในคำว่า “ตม”คงต้องไปถามคุณภัทราวดี มีชูธน ผู้กำกับและผู้แสดงนำ ละครเรื่องนี้ดูเผินๆก็คงจะเป็นเรื่องการเลี้ยงดูลูกเป็นหลัก และลูกสามคนถูกเลี้ยงคนละแบบ ผลจึงแตกต่างกัน แต่ดูๆไปก็มีปัญหาข้อกฎหมายให้วิเคราะห์เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันเรามีกฎหมายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเอาใจใส่ดูแลเด็กและเยาวชนซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคนที่เป็นพ่อแม่ ของสังคมที่จะต้องช่วยกันดูแลให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นอยู่รอดในสังคมอย่างถูกต้องและไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับสังคมนี่เป็นเพียงน้ำจิ้ม ส่วนจะเอาอะไรจิ้มน้ำจิ้มก็ต้องติดตามดูกันต่อไปจริงไหมขอรับ.....