Requiem for a Dream
รหัสสินค้า : DU-0149-D
DVD 1 แผ่น Master
Soundtrack บรรยายไทย
เนื้อเรื่องย่อ
หลังจากหนังอินดี้สุดดังอย่าง Pi (199 ผู้กำกับวิสัยทัศน์เยี่ยมอย่าง ดาเรน อารอนอฟสกี้ ก็ทำให้เราต้องทึ่งอีกครั้งกับ Requiem for a Dream (2000) หนังที่สรรค์สร้างแรงสั่นสะเทือนเข้าไปลึกถึงแก่นกาย ถึงส่วนลึกของจิตใจ อันเป็นภาพที่ติดตาฝังใจ ชวนให้ เอาไปคิดคำนึงไตร่ตรอง และแม้ยามหลับฝันภาพนั้นก็ยังตราตึงมิจางหาย 4 ชีวิตที่เกี่ยวพันกันในเรื่องนั้น ล้วนถูกร้อยเรียงให้มีจุดร่วมรวมกันที่ทุกตัวละคร “เสพติด” บางสิ่งบางอย่าง ซาร่า (เอลเลน เบิร์นสตีน - ได้เข้าชิงออสการ์ดารานำหญิง) หญิงม่ายเข้าวัยชราที่ต้องอยู่บ้านอย่างโดดเดี่ยว สามีก็ตายจากไป ลูกชายก็ไม่ ยอมกลับบ้าน ผู้หญิงที่ต้องในภาวะอ้าวว้างและเปล่าเปลี่ยว เธอจึงติดทีวีไปโดยปริยาย แฮรี่ (แจเร็ต เลโท) ลูกชายของซาร่า กับแฟนสาว แมเรียน (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ – กับบทที่กล่าวได้ว่า “แรงที่สุด” ในชีวิตการ แสดง ว่ากันว่าออสการ์ให้รางวัลสมบทหญิงแก่เธอจากเรื่อง A Beautiful Mind เพื่อเป็นการแก้ตัวที่ดันลืมให้เธอเข้าชิงจากเรื่องนี้) และไทรอนเพื่อนของเขา ทั้งสามล้วนติดยางอมแงมสารพัดอย่าง ชนิดว่าเล่นยาทุกวันไม่เคยขาด เหมือนเป็นงานอดิเรกทั่วไป เพียงแต่มันมีค่าจ่ายที่ “แพง” กว่า …อีกหนึ่งจุดร่วมที่ทั้งสี่มีร่วมกันก็คือ “ความฝัน” อารอนอฟสกี้ ให้สัมภาษณ์ว่าหนังของเขาไม่ได้เพียงต้องการแสดงถึงการ “เสพติด” ยา มันอาจจะรวมถึงการเสพติดสิ่งอื่น ๆ อย่างเช่น ทีวี , กาแฟ , สื่อ ฯลฯ ดังนั้นอีกสิ่งที่สี่กำลังเสพติดและมัวเมาไปกับมันก็น่าจะเป็น “ความฝัน” ซาร่าถูกหลอกว่าจะได้ออกทีวี เธอฝันจะใส่ชุดสีแดงจนยอมกินยาลดความอ้วน ชุดสีแดงที่ใส่ในงานรับประกาศนียบัตรของลูก ชายและสามีกล่าวชมว่าเธอสวยที่สุดในชุดนั้น เธอฝันอยากจะออกทีวี อยากให้ทุกคนยอมรับ อยากให้ทุกคนรู้ว่าลูกชายของ เธอประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีคนรักที่ดี (ซึ่งน่าขันว่ามันตรงข้ามกับความจริงทั้งมวล) และที่เธอเน้นย้ำอยู่ตลอด เวลาคือเธออยากให้สามีที่ตายไปแล้วได้รับรู้ว่าเธอกับลูกชายมีชีวิตที่ดี คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าอีกสิ่งที่เธอเสพติดก็คือ “ อดีต” อันสวยงาม แฮรี่และไทรอนฝันจะร่ำรวย (ทางลัด) จากการขายยาเสพติด ทั้งสองมีจุดที่คล้ายกันคือลึก ๆ แล้วพวกเขาอยากจะทำให้แม่ ภาคภูมิใจ ต่างกันว่าแม่ของแฮรี่ยังอยู่เป็นตัวเป็นตนให้เห็น ให้ทำให้เป็นจริงได้ ส่วนแมเรียนฝันอยากจะมีชีวิตอย่างอิสระเสรี พ้นจากกรอบของพ่อแม่ อยากมีร้านตัดเสื้อ และที่สุดแล้วเธอน่าจะฝันที่มีชีวิตรักที่สวยงามร่วมกับแฮรี่ แต่ความฝันทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพียงความฝันลมๆแล้งๆ และเป็นความฝันอันมักง่าย … ซึ่งย้อนกลับมาทำร้ายผู้คนที่อยู่ในโลก แห่ง “ความจริง” ในรูปของ “ฝันร้าย” !! ในช่วงแรกของหนัง (Summer) ฤดูร้อนอันอบอุ่น ชีวิตที่สดใส (แม้จะเปิดเรื่องด้วยภาพอันน่าขันและขื่นใจที่ซาร่าต้องคอยไปไถ่ ทีวีที่ร้านจำนำคืน แต่ ณ ห้วงเวลานั้นเธอก็ยังยิ้มได้อย่างมีสุข) หนังบอกเล่าชีวิตของทั้งสี่ในช่วงที่รุ่งโรจน์ ซาร่าลดน้ำหนักได้ถึง 25 ปอนด์ เมื่อทุกคนเพื่อรู้ว่าเธอจะได้ออกทีวี เธอจึงกลายเป็นที่รักของเพื่อนบ้าน ได้นั่งตำแหน่งที่ดีที่สุดเวลาอาบแดด (ซึ่งทำ ให้เธอรู้สึกถึงการเป็น “คนสำคัญ” และ “คนที่มีตัวตน”) กิจการขายยาของแฮรี่และไทรอนไปได้สวย เงินสะพัดหมุนเวียนให้ใช้ไม่ขาดมือ มียาให้เล่นจนชุ่มปอด แถมแฮรี่ยังมีเงินให้แม เรียนเปิดร้านตัดเสื้อได้สมใจ ชีวิตรักของทั้งสองแสนหวานชื่น ผู้กำกับยังได้ใส่แง่มุมความรักในแบบเด็กๆเข้าไป (แต่ตามจริง ตอนที่ถ่ายหนังเรื่องนี้ พระนางของเรื่องก็อายุปาเข้าไปจะ 30 อยู่แล้ว) ดังเช่น ฉากที่แมเรียนแกล้งป่วนให้สัญญาณเตือนภัยใน ตึกดังขึ้น แต่ทั้งสองกลับวิ่งหนีกันอย่างสนุกสนาน และฉากโรแมนติกชวนฝันอย่างฉากที่ยืนคุยกันบนดาดฟ้า หรือฉากที่นั่งคุย กันริมทะเล พร้อมกับที่แฮรี่บอกเล่าว่าเขาจะซื้อชุดทีวีเป็นของขวัญให้แม่ … แต่อีกฉากที่เหมือนจะดูเสียดสีและเย้ยหยันถึง ความรักของทั้งสองคือฉากที่ทั้งสองเสพยาแล้วนอนพร่ำบอกว่ารักกัน มุมกล้องจากเบื้องสูง หมุนล่องลอยไปมา น่าจะบอกเล่า ถึงสัมพันธภาพที่เคว้งคว้างของคนคู่นี้ (ซึ่งทั้งเนื้อหาและภาพคล้ายคลึงกับเอ็มวีเพลง You only tell me you love me when you’re drunk ของ Pet Shop Boys มากทีเดียว อีกทั้งเราจะได้เห็นภาพลักษณะเดียวกันนี้ในเรื่อง Twentynine Palms) จุดพลิกผัน (และคือ “จุดพลิกฝัน” ด้วย) คือเมื่อแก็งค์ยาเสพติดของพวกแฮรี่ทำธุรกิจด้วยถูกถล่มยับ ส่วนไทรอนก็ถูกจับเข้าซังเต จากนั้นหนังจึงตัดช่วงฤดูใบไม้ร่วง (Fall) นัยจะบอกว่าเป็นจุดที่ตัวละครจะถึงกาลร่วงโรยและตกต่ำ หลังจากประกันตัวไทรอนออกมา ทั้งสามก็ตกในภาวะขาดเงินและขาดยา ความสัมพันธ์ของแฮรี่กับแมเรียนเริ่มจะดิ่งลงเหวทันที เมื่อตกกลางคืนแมเรียนเสี้ยนยาจัด จนชวนให้แฮรี่ใช้ยาชุดสุดท้ายไป แต่เมื่อตื่นเช้ามากลับบอกว่าแฮรี่เป็นคนเริ่มชวนก่อน ทั้ง คู่จึงมีปากเสียงกัน จนในที่สุดแฮรี่บอกให้แมเรียนไปนอนกับจิตแพทย์ของเธอเพื่อแลกกับเงิน ถือเป็นฉากที่น่าจดจำ เมื่อแมเรียนกลับมา เธอกลับมาในสภาพที่กายยังอยู่ แต่ร่างนั้นไร้วิญญาณ ส่วนแฮรี่นั้นจ้องมองดูทีวี ด้วยสายที่ว่างเปล่า สีหน้าที่บ่งบอกถึงความละอายใจและเสียใจ เมื่อแมเรียนนั่งบนโซฟา ทั้งสองนั่งในระยะห่างกัน เกิดเป็น “ ช่องว่าง” ระหว่างทั้งคู่ ภาพตรงนี้สื่อความได้ดีเพราะแม้ช่องว่างนั้นจะดูเล็กน้อย แต่ผู้ชมก็รู้สึกได้ถึงช่องว่างอันกว้างใหญ่ในจิต ใจของทั้งสอง ทำให้เรารู้ว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป จึงถือเป็นภาพที่ปวดร้าวยิ่งนัก ชีวิตของทั้งคู่ยิ่งดำดิ่งลงเหวลึกเมื่อแฮรี่ไม่สามารถหายามาให้แมเรียนได้ เสียงด่าทอ ถ้อยคำอันหยาบคาย กลบฝังมิดซึ่งความ รักที่เคยมีให้กัน จนในที่สุดด้วยโทสะที่ระเบิดปะทุออกมา แฮรี่ให้เบอร์คนที่จะยาแก่แมเรียนไป โดยสิ่งที่ต้องเอาเข้าแลกไม่ใช่ เงิน แต่เป็นร่างกายและ “ศักดิ์ศรี” ของตัวเองเธอเอง … เป็นความเจ็บช้ำอีกครั้งในฉากที่แมเรียนจ้องมองรูปที่ทั้งสองถ่ายร่วม กันในวันวาน นั่นเป็นอดีตที่ปวดร้าว แต่ปัจจุบันนั้นกลับยิ่งกว่าเพราะผู้กำกับก็พลิกผันชะตากรรมของตัวละครเมื่อแมเรียนพลิก หลังรูปมาเจอเบอร์ที่แฮรี่เขียนให้ อันเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตก้าวเดินสู่ “วงจรอุบาทว์” ที่ไม่มีวันลบล้าง ดังเช่นที่เธอต้องกรีดร้อง อย่างเจ็บช้ำในขณะที่แช่น้ำล้างมลทินที่ไม่มีวันเลือนหายไปจากชีวิต ส่วนซาร่าก็ไม่ต่างกัน ผลจากยาลดความอ้วนทำให้เธอเริ่มเสียสติ ได้ยินเสียงประหลาด ภาพที่มองเห็นก็บิดเบี้ยว ตู้เย็นเคลื่อน ไหวเองได้ ตัวละครในทีวีกลับมาโลดแล่นในห้องของเธอ ภาพที่เธอวิ่งอยู่กลางถนนอย่างกระเซอะกระเซิงในชุดแดงที่ได้ใส่สมใจ จึงดูน่าสมเพชเวทนาและน่าสะเทือนใจเป็นยิ่งนัก หลาย ๆ ฉากในข้างต้นจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า อารอนอฟสกี้ นั้นเป็นผู้กำกับที่โดดเด่นมากในการกำกับ “ภาพ” และ “เสียง” เพลงประกอบที่นำเพลงอิเล็กโทรนิกกับออเครสต้ามาผสมกันได้อย่างลงตัว การใช้เสียงบรรยายสภาพ-ความรู้สึกของตัวละคร หรือเสียงกระตุ้นเร้าที่ทำให้เรากลัวตู้เย็นไป 3 วัน !! ภาพการเปลี่ยนแปลงของตัวละครทางกายภาพที่ทรุดโทรมลง (โดยเฉพาะเบิร์นสตีลที่โทรมจนเหลือเชื่อ) หรือทางจิตใจที่ตัว ละครแสดงออกทางใบหน้าว่ามีความทุกข์อันหนักหน่วงอยู่ในใจ หรือที่เรียกว่า “ตายทั้งเป็น” (โดยเฉพาะในแมเรียน) การให้ตัว ละครแมเรียนอย่างต้องแต่งหน้าทาตาในโทนสีดำอันเหมือนเป็นนัยที่เธอต้องการปกปิดอย่างสิ่งบางอย่าง เช่นเดียวกับที่แฮรี่ ต้องใส่เสื้อปกปิดรอยแผลจากการใช้ยา ยังมีอีกมากมายเช่น ฉากที่ประมวลภาพกิจการขายยาที่ไปได้สวย พร้อมกับตัดต่อภาพจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว , การ แบ่งจอเป็น 2 ฟากในฉากแรกที่ตัวละครหนึ่งอยู่ในห้อง อีกตัวหนึ่งอยู่นอกห้อง ทำให้เรารับรู้ถึงความกดดันของฝ่ายที่อยู่ให้ห้อง และในฉากที่แฮรี่กับแมเรียนสื่อความความรักกันด้วยผัสสะทางกาย ที่แสดงถึงการสื่อความรู้สึกได้เหมือนจริงและสวยงาม (ถ้าดู ใน Delete Scene จะมีฉากที่ตัวละครทั้งสามพยายามจะไม่ใช้ยา จากนั้นภาพจะจับที่ตาของทั้งสามที่แสดงความรู้สึกต่าง ๆ ออกมา ซึ่งฉากนี้โดดเด่นมาก) และฉากการใช้ยาเสพติดที่ตัดภาพตั้งแต่การวิธีการใช้ การฉีด การที่ยาวิ่งเข้าไปในเส้นเลือด รูม่านตาที่ขยายออก น่าสังเกตว่า ในกระบวนการใช้ยานั้นผู้กำกับตัดต่อภาพอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับเหตุการณ์จริงต่าง ๆ ที่ตัวละครต้องเผชิญ นัยเป็นสารที่ จะบอกว่าความเพ้อฝันด้วยฤทธิ์ของยานั้นมันแสนสั้น แต่ฝันร้ายในโลกแห่งความเป็นจริงมันยาวนาน เหนือสิ่งอื่นใด แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในเรื่องจะดูเป็นความฝัน แต่ผมก็เชื่อว่ายังมีสิ่งที่เป็นความจริง นั่นก็คือ “ความรัก” ไม่ ว่าจะเป็นความรักระหว่างแม่-ลูกของซาร่ากับแฮรี่ หรือไทรอนกับแม่ของเขา , ความรักรักระหว่างเพื่อนอย่างแฮรี่กับไทรอน และความรักของคนรักอย่างแฮรี่และแมเรียนที่แม้จะถูกสั่นคลอนและไร้ความมั่นคง แต่ในฉากที่แฮรี่โทรไปหาแมเรียน เธอถาม เขาว่าจะกลับมาเมื่อไร แฮรี่ตอบว่า “Soon” (เร็วๆนี้) เธอย้ำถามอีกครั้ง เขาก็ยังตอบว่า Soon หากแต่ตอบด้วยน้ำเสียงที่ปวด ร้าวเพราะมันคงไม่มีวันนั้น วันที่จะกลับไปร่วมใช้ชีวิตด้วยกัน แมเรียนรอวันนั้นไม่ได้เธอจึงต้องเลือก “ทาง” ที่ก้าวต่อไป ภาพหนึ่งที่ปรากฏในหนังคือภาพแมเรียนในชุดแดงยืนเกาะรั้วอยู่ ณ ที่หนึ่ง ที่ซึ่งดูสุขสงบและเปี่ยมด้วยความสุข หากแต่ภาพนั้น เป็นเพียงแค่โลกในอุดมคติที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง ที่สุดแล้วแฮรี่พบว่าแมเรียนไม่ได้อยู่ ณ ที่ตรงนั้น (ดังที่บอกกับพยาบาลว่า “เธอ ไม่มาหรอก”) เขาก้าวถอยหลัง ตกสู่ห้วงเหวอันมืดมิดและดำมืด แต่ก็ยังมิวายที่จะตะโกนก้องชื่อคนรัก … บทส่งท้าย ~epilogue~ ฤดูหนาวอันแสนจะหนาวเหน็บ (Winter) ชีวิตของตัวละครได้มาถึงจุดที่ตกต่ำที่สุด ผู้กำกับยังคงแสดงความแม่นยำในการควบ คุมจังหวะ การใช้ภาพที่สอดคล้อง ด้วยเพลงโหมกระพือ การตัดภาพอันรวดเร็วถึงชีวิตทั้งสี่ การให้ฉากสั่นสะเทือน ผู้ชมได้รับรู้ ถึงความเจ็บปวดของตัวละคร และขณะเดียวกันรู้สึกประสาทหลอนกับไปตัวละครที่อยากยาด้วย (ดังเช่นที่ผู้กำกับทำสำเร็จมา แล้วใน Pi กับการที่เรารู้สึกปวดหัวไปกับพระเอกของเรื่อง) ณ วันที่ฝันดับสลาย ตัวละครทั้งสี่ก็ยังตกอยู่ในห้วงฝันต่อไป ซาร่าฝันว่าได้ออกทีวี ไทรอนฝันถึงอ้อมกอดของแม่ แมเรียนนอนกอดยาที่ได้มา เพ้อฝันถึงการจะได้เสพมัน ส่วนแฮรี่แม้จะตื่นจากฝัน แต่เขาก็ยังคงอยู่ในฝันร้าย